Monday, March 23, 2015

Ketoconazole

ไม่ควรใช้ยา ketoconazole ชนิดรับประทาน




นพ.สิระ วชาติมานนท์
ผศ.ดร.วัชรี ลิมปนสิทธิกุล
ภาควิชาเภสัชวิทยา
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


รายละเอียด

  • องค์การอาหารและยาสหรัฐ (U.S.FDA) ออกคำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการเกิดอันตรายต่อตับขั้นรุนแรง (Severe liver injuries) ปัญหาเกี่ยวกับต่อมหมวกไต (Adrenal gland problems) และอันตรกิริยาระหว่างยาที่เป็นอันตราย (Harmful drugs interactions) จากการใช้ยาคีโทโคนาโซลชนิดเม็ดรับประทาน โดยแนะนำว่าไม่ควรใช้เป็นยาขนานแรก (First-line) ในการรักษาการติดเชื้อราใดๆ– 26/07/2013
  • หน่วยงานด้านยาของยุโรป (European Medicines Agency: EMA) แนะนำให้ระงับการจำหน่ายยาคีโทโคนาโซลชนิดรับประทานทั่วสหภาพยุโรป เพราะประโยชน์ของยาในการรักษาการติดเชื้อราไม่มีน้ำหนักเหนือกว่าความเสี่ยงต่อการ เกิดอันตรายต่อตับ และแนะนำให้ผู้ป่วยปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาการรักษาด้วย ยาขนานอื่นซึ่งมีความปลอดภัยมากกว่า – 26/07/2013
  • หน่วยงานควบคุมยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพของสหราชอาณาจักร (Medicines and Healthcare products Regulatory Agency: MHRA) แนะนำไม่ให้ใช้ยาคีโทโคนาโซลชนิดรับประทานในการ รักษาการติดเชื้อรา เนื่องจากการศึกษาที่แสดงถึงประสิทธิภาพของยาคีโทโคนาโซลในการรักษาการติดเชื้อรามี อยู่จำกัด และภาวะไม่พึงประสงค์จากยา เช่น ภาวะตับอักเสบรุนแรงอันตรายถึงชีวิต อาจเกิดได้จากการใช้ยาในขนาดปกติ 200 มิลลิกรัม/วัน – 01/08/2013
  • คณะกรรมการอาหารและยาของไทย (อย.) ได้ออกประกาศแจ้งเตือนถึงความเสี่ยงต่อการเกิดตับเป็นพิษจากการใช้ยาคีโทโคนาโซลชนิดรับประทาน และขอความร่วมมือจากสถานพยาบาลและบุคคลาการทางการแพทย์ให้ใช้ยาดังกล่าวด้วยความระมัดระวัง – 12/09/2011
  • มีการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับยาคีโทโคนาโซลชนิดรับประทานมีความเสี่ยงต่อการเกิดพิษต่อตับมากกว่ายาต้านเชื้อราชนิดอื่นเกิน10 เท่า

  • หน่วยงานกำกับด้านยาประเทศฝรั่งเศส (French Medicines Agency : AFSSAPS) สั่งระงับการจำหน่ายยาคีโทโคนาโซลชนิดรับประทานภายในประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่ พ.ศ. 2554
  • บริษัท Janssen ผู้ผลิตและจำหน่ายยาคีโทโคนาโซลภายใต้ชื่อการค้า Nizoral(R) ประกาศระงับการจำหน่ายยาคีโทโคนาโซลชนิดรับประทานทั่วสหภาพยุโรป ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 — 11/10/2013


ข้อมูลเพิ่มเติม

ยาคีโทโคนาโซล (Ketoconazole) เป็นยาต้านเชื้อราในกลุ่ม imidazole มีกลไกการออกฤทธิ์คือการยับยั้งการสังเคราะห์ ergosterol ซึ่งเป็นองค์ประกอบในเชื่อหุ้มเซลล์ของรา โดยจับกับเอนไซม์ cytochrome P450 โดยยาในกลุ่ม imidazole มีความจำเพาะต่อ fungal cytochrome P450 ต่ำ ทำให้มีความเสี่ยงต่อภาวะไม่พึงประสงค์และการเกิดอัตรกิริยาระหว่างยาจากการจับ human cytochrome P450 ได้มากยาคีโทโคนาโซลเป็นยาต้านเชื้อราชนิดออกฤทธิ์กว้าง โดยมีฤทธิ์ครอบลุมเชื้อราชนิด dermatophytes, Candida, และ endemic mycoses (blastomycosis, coccidiomycosis, histoplasmosis) โดยเป็นยาที่มีการผลิตทั้งในรูปรับประทานและในรูปยาใช้เฉพาะที่

เนื่องจากมีฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง steroid hormones จึงมีการนำไปใช้ในการรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก (non-FDA approved indication)

อ้างอิง


  1. U.S. Food and Drug Administration. FDA Drug Safety Communication: FDA limits usage of Nizoral (ketoconazole) oral tablets due to potentially fatal liver injury and risk of drug interactions and adrenal gland problems. http://www.fda.gov/drugs/drugsafety/ucm362415.htm (accessed 3 September 2014).
  2. European Medicines Agency. European Medicines Agency recommends suspension of marketing authorisations for oral ketoconazole. http://www.ema.europa.eu/ema/index.jsp?curl=pages/news_and_events/news/2013/07/news_detail_001855.jsp&mid=WC0b01ac058004d5c1 (accessed 3 September 2014).
  3. Medicines and Healthcare Products Regulatory Agency. Oral ketoconazole: do not prescribe or use for fungal infections—risk of liver injury outweighs benefits. http://www.mhra.gov.uk/Safetyinformation/DrugSafetyUpdate/CON300403 (accessed 3 September 2014).
  4. Rodriguez, G. (1999). A cohort study on the risk of acute liver injury among users of ketoconazole
  5. and other antifungal drugs. British journal of clinical pharmacology, 48(6), 847-852.
  6. องค์การอาหารและยา. Ketoconazole กับความเสี่ยงตับเป็นพิษ. http://thaihpvc.fda.moph.go.th/thaihvc/Public/News/uploads/hpvc_2_5_34.pdf (accessed 3 September 2014).
  7. Janssen Pharmaceutical Company. Discontinuation of Nizoral® 200 mg Tablets (ketoconazole). http://www.mhra.gov.uk/home/groups/pl-p/documents/drugsafetymessage/con344534.pdf (accessed 3 September 2014).

No comments:

Post a Comment