ยา Intranasal decongestant เป็นยาพ่นจมูกชนิดที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการคัดจมูก ซึ่งเกิดจากเยื่อบุโพรงจมูกบวม เป็นยาในกลุ่ม adrenergic agonist ออกฤทธิ์กระตุ้น alpha receptor ทำให้หลอดเลือดในโพรงจมูกหดตัว > เยื่อบุโพรงจมูกยุบบวม > อาการคัดจมูกดีขึ้น ยาชนิดนี้มีประสิทธิผลดีมากและออกฤทธิ์เร็ว (1) (2)
อย่างไรก็ตามยานี้มีผลข้างเคียงและข้อควรระวังมากมายเช่นกัน ผลข้างเคียงที่พบบ่อยของยาชนิดนี้คือ ทำให้โพรงจมูกแห้ง ปากแห้ง อาจพบเลือดกำเดาไหลได้ ส่วนผลข้างเคียงที่พบได้ไม่บ่อยแต่ร้ายแรง คือทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น มีอาการใจสั่น ความดันโลหิตสูง ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย เป็นต้น (เนื่องจากยาไปออกฤทธิ์กระตุ้น adrenergic receptor) (1) อย่างไรก็ตามผลข้างเคียงที่พบในเด็กอาจเป็นง่วงซึมมากผิดปกติเนื่องจากยามีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง
ข้อควรระวังที่สำคัญของการใช้ยา intranasal decongestant คือ ห้ามใช้ยาติดต่อกันเกิน 5-10 วัน (9) เนื่องจากการใช้ยาเป็นระยะเวลานานจะทำให้เยื่อพุโพรงจมูกบวมมากขึ้น หรือที่เรียกว่า Rhinitis Medicamentosa ทำให้อาการคัดจมูกแย่ลง (3) (4)
Rhinitis Medicamentosa คือ การอักเสบของเยื่อบุโพรงจมูกที่เกิดจากการใช้ยา intranasal decongestant ติดต่อกันนานเกิน 5-10 วัน จะมีอาการคัดจมูกมากขึ้น โดยไม่มีอาการน้ำมูกไหลหรือจามร่วมด้วย สำหรับพยาธิสรีระวิทยาของโรคนี้ยังไม่มีการสรุปที่ชัดเจน จากการศึกษา สันนิษฐานว่าเกิดจากการที่ร่างกายได้รับสารที่ทำให้หลอดเลือดหดตัวมากเกินไป ส่งผลให้ระบบควบคุมสมดุลของสารสื่อประสาทเปลี่ยนแปลงไป เกิด negative feedback ทำให้ร่างกายสร้างสาร norepinephrine ลดลง จึงทำให้เกิดอาการคัดจมูกมากขึ้น (4)
นอกจากนี้ ยา intranasal decongestant ไม่ควรใช้ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี เนื่องจากยังไม่มีการพิสูจน์ที่แน่ชัดว่ายานี้มีประโยชน์ในเด็ก ในทางตรงกันข้ามพบว่าในเด็กมีโอกาสได้รับผลข้างเคียงมากกว่าผู้ใหญ่ ส่วนในเด็กอายุ 6-12 ปี หากมีความจำเป็นต้องใช้ ควรให้ใช้อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ (5)(6)
ในปี 2007 US FDA ออกประกาศ ห้ามให้ยารักษาโรคหวัด ได้แก่ decongestants, expectorants, antihistamines and antitussives ในเด็กที่อายุ ต่ำกว่า 2 ปี เนื่องจากยาเหล่านี้อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงอันตรายร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ (7)(8)
ดังนั้น ควรใช้ยานี้เมื่อมีอาการคัดจมูกมากและควรใช้เป็นระยะสั้นๆเท่านั้น คือเมื่ออาการหายไปแล้วควรหยุดใช้ทันที ไม่ควรใช้ติดต่อกันนานเกิน 5-10 วัน และไม่ควรใช้ในเด็กที่มีอายุต่ำว่า 6 ปี
ตัวอย่างยาที่มีจำหน่ายในประเทศไทย ได้แก่
Oxymetazoline (Iliadin
Xylometazoline (Otrivin)
Reference
1. Shan Yin, MD, MPH. Phenylephrine and related decongestants: Pediatric poisoning. Uptodate.
http://www.uptodate.com/contents/phenylephrine-and-related-decongestants-pediatric-poisoning
2. Corboz MR e. Mechanism of decongestant activity of alpha 2-adrenoceptor agonists. - PubMed - NCBI
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17869148
3. Richard D deShazo, MD. Stephen F Kemp, MD. Pharmacotherapy of allergic rhinitis. Uptodate.
http://www.uptodate.com/contents/pharmacotherapy-of-allergic-rhinitis
4. Natalya M Kushnir. Rhinitis Medicamentosa. Medscape. http://emedicine.medscape.com/article/995056-overview
5. Oxymetazoline Nasal Spray. Medlineplus. U.S. National Library of Medicine. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/meds/a608026.html
6. Diane E Pappas. The common cold in children: Treatment and prevention.
http://www.uptodate.com/contents/the-common-cold-in-children-treatment-and-prevention
7. An Important FDA Reminder for Parents: Do Not Give Infants Cough and Cold Products Designed for Older Children. Fda.gov. http://www.fda.gov/Drugs/ResourcesForYou/SpecialFeatures/ucm263948.htm
8. OTC Cough and Cold Products: Not For Infants and Children Under 2 Years of Age. Fda.gov. http://www.fda.gov/ForConsumers/ConsumerUpdates/ucm048682.htm
9. สมาคมแพทย์โรคจมูก(ไทย). แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย. http://www.thairhinologists.org/2008/site.php?contentsid=439
No comments:
Post a Comment