การใช้ยาในผู้สูงอายุ
นพ.สิระ วชาติมานนท์
ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล
ผูสูงอายุ โดยเฉพาะอยางยิ่งผูที่ชรามาก ตองการความเอาใจใสและความรอบคอบในการสั่งใชยาเปนพิเศษ หลีกเลี่ยงการใชยาเกินขนาดหรือไมเหมาะสมกับผูสูงอายุ และทั้งการดูแลไมใหผูปวยขาดยา
ผูสูงอายุมักไดรับยาหลายขนาน เนื่องจากมักเจ็บปวยดวยโรคหลายชนิด ซึ่งมีผลโดยตรงตอการเพิ่มขึ้นของปญหาอันตรกิริยาของยา ปัญหาผลขางเคียงจากยา และปญหาความรวมมือในการใชยา จึงควรทบทวนรายการยาที่ผูสูงอายุได้รับอย่างสม่ำเสมอ และควรหยุดยาที่ไมเปนประโยชนตอผูปวยและพิจารณาการรักษาดวยวิธีอื่น ๆ โดยไมใชยา
ผูสูงอายุที่รางกายออนแอมากอาจกลืนยาเม็ดดวยความยากลําบาก ยาอาจตกคางอยูในปากและยาบางชนิดอาจทําใหเกิดแผลในชองปากขึ้นได
จึงควรใหผูปวยดื่มน้ำในปริมาณที่พอเพียงทุกครั้งที่ปอนยาเม็ดแกผูปวย และใหผูปวยกลืนยาในทานั่งหรือยืนเพื่อปองกันไมใหยาตกคางบริเวณหลอดอาหาร
ผูปวยบางรายอาจรักษาตนเองดวยยาจากแหลงตาง ๆ เชน ซื้อจากรานขายยา ใชยาเกาที่เหลืออยู่จากการรักษาครั้งกอน รับยาจากแพทยคนที่สอง หรือใช้ยาของผูอื่น ซึ่งอาจกอใหเกิดปญหากับการรักษาดวยยาที่แพทยสั่งใช
การพูดคุยกับผูปวยและญาติให้เกิดความเขาใจในปญหาดังกลาว ตลอดจนการตรวจสอบยาทั้งหมดที่ผูปวยใชอยูจึเปนสิ่งสําคัญในการดูแลผูปวย
ระบบประสาทของผู้สูงอายุมีความไวเพิ่มขึ้นต่อยาหลายชนิด
เชน ยาระงับปวดในกลุ่ม opioid ยาในกลุ่ม benzodiazepine
ยารักษาโรคจิต ยารักษาโรคพารกินสัน รวมทั้งการใช้ยาลดความดันเลือด และ NSAID ก็ควรระมัดระวังเป็นพิเศษเช่นกัน
การเปลี่ยนแปลงที่สําคัญที่สุดทางเภสัชจลนศาสตร์ของภาวะสูงอายุ
คือ การทํางานของไตที่ลดลง สงผลใหยาถูกขับออกจากรางกายชาลง และเกิดพิษตอไตงายขึ้น ทั้งภาวะเจ็บปวยเฉียบพลันอาจนำไปสูการทํางานของไตที่ลดลงไดอยางรวดเร็ว โดยเฉพาะผูปวยที่มีภาวะขาดน้ำรวมดวย การใช้ยาที่ มีชวงขนาดยาที่ใชรักษาแคบ (narrow therapeutic range) เชน digitalis
อาจกอให้เกิดพิษจากยาไดอยางรวดเร็ว นอกจากนี้การเมแทบอไลตยาบางชนิดในผู้สูงอายุอาจลดลงซึ่งทําใหความเขมขนของยาในเนื้อเยื่อเพิ่มสูงขึ้นอยางมากและเกิดพิษจากยาได้
ผลขางเคียงจากยาในผูสูงอายุอาจแสดงอาการที่ไมชัดเจนหรือเปนอาการที่ไมสามารถบ่งชี้ไดว่าเกิดจากยา เช่น
- อาการสับสน (confusion)
- อาการทองผูกจากยาตานฤทธิ์มัสคารินิกและยาคลายกังวล
- ความดันเลือดตกขณะเปลี่ยนทาซึ่งอาจทําใหลมลง จากยาขับปสสาวะและยาดานจิตประสาทหลายชนิด
- ภาวะเมาคาง (hangover)
พูดคําคละละเลือน (slurred speech) ง่วงซึมจากยานอนหลับโดยเฉพาะชนิดที่มีครึ่งชีวิตยาว
- เลือดออกในทางเดินอาหาร โรคหัวใจและการทำงานของไตลดลง จากยากลุ่มNSAID
- โรคเลือดจากยาที่กดไขกระดูก เชน co-trimoxazole
(ก),
mianserin (ข),
orphenadrine
ข้อควรปฏิบัติในการสั่งยาผู้สูงอายุ
- อาจขอความชวยเหลือจากผูใกลชิดของผูปวย เชน ญาติ หรือ ผูดูแล ในการจัดยาและตรวจสอบการใชยาของผูปวย
- จํากัดรายการยาเพื่อลดความเสี่ยงจากการใชยาศึกษาขอมูลของยาเหลานั้นๆ อยางละเอียดถี่ถวนโดยเฉพาะการออกฤทธิ์ในผูสูงอายุ ซึ่งมักต้องลดขนาดยาลง โดยเฉพาะหากผูสูงอายุเริ่มมีการทํางานของไตลดลง
- ทบทวนการรักษาอยางสม่ำเสมอ
- ยาแตละชนิดควรมีวิธีการใหยาที่สอดคลองกันหากเปนไปได
เชน วันละครั้ง หรือวันละสองครั้ง เหมือนๆ กัน
และควรหลีกเลี่ยงการสั่งใชยาที่ตองใหวันละหลายครั้งและขวดยาชนิดที่ทําไวเพื่อใหเด็กเปดออกไดยากอาจไม่เหมาะสมกับผูสูงอาย
- ใหคําอธิบายที่ชัดเจน ถึงวิธีการใชยาตลอดจนผลที่อาจเกิดขึ้นอยางสม่ำเสมอและใหคําอธิบายที่ชัดเจน โดยตรวจสอบความเขาใจของผู้สูงอายุเปนระยะ ๆ
- หากสั่งยาบรรเทาอาการชนิดที่ใหกินแบบ p.r.n.
(เมื่อตองการ)
ตองแนใจวาผู้ป่วยทราบวาควรใช้หางกันอยางนอยกี่ชั่วโมง และไมควรกินเกินวันละกี่เม็ด
- ควรเรียกดูยาจากผูปวย โดยใหผูปวยนำยาทุกชนิดติดตัวมาดวยเมื่อมาพบแพทยในแตละครั้ง เพื่อตรวจสอบวาผูปวยไดใชยาตามที่แพทยสั่งหรือไม
- หากมียาที่ไมจําเปนตองใชอีกตอไปตกคางอยู ควรแนะนำใหผู้ป่วยทิ้งยาเหลานั้นไปเพื่อปองกันความสับสนในการนำยาเหลานั้นมาใชโดยไมตั้งใจ
- หลีกเลี่ยงยาบางชนิด ได้แก่
- ยาที่ออกฤทธิ์ยาว
เพราะอาจสะสมในรางกายและกอใหเกิดพิษ เชน ยาแกเบาหวานชนิดกินประเภทออกฤทธิ์ยาว (glibenclamide
(ก),
chlorpropamide) ยา benzodiazepine
ชนิดที่ออกฤทธิ์ยาว (เชน nitrazepam,
flurazepam, diazepam (ก),
alprazolam) และNSAID
ชนิดที่ออกฤทธิ์ยาว (เชน naproxen
(ก),
piroxicam (ข))
- ยาใหม เนื่องจากมีขอมูลความปลอดภัยที่ไมครบถวน
แพทย์ควรศึกษารายการยาที่มีแนวโนมการใชไมเหมาะสมในผูสูงอายุจาก Beers
Criteria ซึ่งเป็นรายการยาที่จัดทําขึ้นโดยกลุมผู้เชี่ยวชาญการรักษาโรคในผู้สูงอายุ
นอกจากนี้
ปจจุบันมีผูพยายามเสนอเครื่องมือที่ใชตรวจสอบรายการยาที่ไมเหมาะสมในผูสูงอายุเพิ่มเติมขึ้น เชน Inappropriate
Prescribing in the Elderly Tool (IPET) และ STOPP
(Screening Tool of Older Persons' potentially inappropriate Prescriptions) เพื่อใหสอดคลองกับรายการยาใหมที่มีใช้เพิ่มขึ้น
การใช้ยาในผู้สูงอายุและโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
ผู้สูงอายุเป็นประชากรกลุ่มพิเศษกลุ่มหนึ่งที่จำเป็นต้องได้รับยาอย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ
ซึ่งตามโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (RDU hospital) ได้ให้คำแนะนำการใช้ยาในผู้สูงอายุไว้ดังนี้
คำแนะนำทั่วไป
การรักษาภาวะใด ๆ ในผู้สูงอายุ ควรพิจารณาความจำเป็นที่ต้องใช้ยา
โดยควรเลือกใช้ nonpharmacological
treatment ก่อนเสมอ
หลีกเลี่ยงยาที่ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้สูงอายุ
เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา
ระวังอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
และเมื่อสงสัยว่าอาการที่เกิดขึ้นเป็นผลจากยาให้หยุดยาทันที
ระวังการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาที่ใช้ร่วมกัน
ทั้งยาที่แพทย์สั่งและยาที่ผู้ป่วยซื้อใช้เอง
ควรมีการทบทวนรายการยาที่ผู้สูงอายุได้รับให้เป็นปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอ
ทั้งยาที่ได้รับจากโรงพยาบาล สถานพยาบาล ร้านยา อาหารเสริมทุกชนิด
รวมทั้งส่งต่อข้อมูลยาไปยังโรงพยาบาลอื่นเมื่อผู้ป่วยเปลี่ยนที่รักษา
เป็นการช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาทางยาที่อาจเกิดขึ้นได้
ยาที่ควรหลีกเลี่ยงในผู้สูงอายุ
1. Chlorpropamide, glibenclamide เนื่องจากยามีค่าครึ่งชีวิตที่ยาวมากในผู้สูงอายุทำให้เกิดภาวะ
hypoglycemia
ที่รุนแรง โดยที่ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามอายุ
และอาจทำให้เกิด SIADH
2.
Nifedipine, immediate release
มีโอกาสเกิดความดันโลหิตต่ำ, reflex tachycardia และ myocardial ischemia
3.
Long-acting
benzodiazepines เช่น diazepam, chlordiazepoxide,
dipotassium chlorazepate อาจทำให้มีimpaired
cognitive function และเพิ่มโอกาสเกิดการหกล้ม
ควรลดขนาดลงช้าๆ อย่างระมัดระวังแล้วเลือกใช้ยากลุ่มอื่นแทน
ยาที่ควรใช้ด้วยความระมัดระวังในการใช้ในผู้สูงอายุ
1. ยาที่มีฤทธิ์ anticholinergic สูง เช่น First-generation antihistamines และ ยาระบบคลายกล้ามเนื้อ ได้แก่ Orphenadrine
> 200 มก./วัน เพราะทำให้เกิดผลข้างเคียง ได้แก่ ปัสสาวะขัด
ท้องผูก ความดันโลหิตต่ำ การมองเห็นผิดปกติ และระบบประสาทส่วนกลางทำงานผิดปกติ
เกิดปัญหาสมองเสื่อมในการใช้ระยะยาว จึงควรใช้ด้วยความระมัดระวัง
โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ > 75 ปี
หรือมี cognitive
impairment อยู่ก่อน และควรหลีกเลี่ยงในผู้ที่มีปัญหาเรื่องท้องผูก
ต่อมลูกหมากโต ต้อหิน โดยอาจใช้ยาgeneration ที่ใหม่ขึ้น หรือใช้เพียงในระยะสั้น ๆ
2.
ยาที่มีtherapeutic
index แคบ เช่น digoxin,
anticonvulsants (phenytoin, valproic acid) และ theophylline เพราะโอกาสเกิดความเป็นพิษได้สูงและควรติดตามระดับยาในเลือด
หรืออาการทางคลินิกที่แสดงความเป็นพิษของยาอย่างใกล้ชิด
3.
Flunarizine/
CinnarizineProchlorperazine เป็นยาที่กดการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง
เพิ่มโอกาสเกิด extrapyramidal
symptoms และการหกล้ม จึงควรเฝ้าระวังความผิดปกติของการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย
และใช้ยาในขนาดต่ำที่สุดที่ได้ผลประเมินความจำเป็นในการใช้ยาเป็นระยะ
และหยุดยาเมื่อไม่มีข้อบ่งใช้
4. Anticoagulants
ได้แก่ ทั้ง warfarin
ยาในกลุ่ม new oral anticoagulants และ
LMWH เนื่องจากในผู้สูงอายุมีการกำจัดยาโดยตับและไตลดลง จึงมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากยาสูงขึ้น ในกรณี warfarin: ต้องมีการติดตามระดับ INR อย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะเมื่อมีภาวะที่อาจมีผลต่อระดับติดตามอาการทางคลินิกที่อาจบ่งถึงผลข้างเคียงของยาอย่างใกล้ชิด
และหลีกเลี่ยงการใช้ในผู้ที่อายุมากกว่า 75 ปี
ทั้งนี้ เพื่อกำหนดเป้าหมายของการมุ่งสู่โรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลอย่างเป็นรูปธรรม
จึงกำหนดตัวชี้วัดสำหรับการใช้ยาในผู้สูงอายุไว้ดังต่อไปนี้
1.
อัตราการใช้ยา long acting
benzodiazepine ได้แก่ diazepam, chlordiazepoxide, dipotassium
chlorazepate ในการรักษาภาวะนอนไม่หลับน้อยกว่าร้อยละ 5
2. อัตราการทบทวนรายการยา (medication reconciliation) ในผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลและได้รับยามากกว่า
5 รายการมากกว่าร้อยละ 50
No comments:
Post a Comment