โรคไข้หวัดใหญ่กับวัคซีนไข้หวัดใหญ่
นพ.วงศ์กนก
ก่อวัฒนมงคล
รศ.สุพีชา วิทยเลิศปัญญา
รศ.สุพีชา วิทยเลิศปัญญา
โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน
มีการระบาดใหญ่ทั่วโลกมาแล้วหลายครั้ง การระบาดแต่ละครั้งเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในหลายประเทศ
ทำให้มีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจำนวนมาก การระบาดพบมากในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว
ในประเทศไทยมีอัตราการป่วย 177.75 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 25
ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.04 ต่อแสนประชากร
ในช่วง วันที่ 1 มกราคม 2560- 18 กันยายน 2560
อาการสำคัญของโรคไข้หวัดใหญ่ คือ
มีไข้สูง หนาวสั่นแบบทันทีทันใด ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ปวดศีรษะ
อ่อนเพลีย และบางครั้งอาจมีอาเจียนและท้องเสียร่วมด้วย โรคนี้มีการแพร่เชื้อด้วยการที่บุคคลใดๆสัมผัสสารคัดหลั่งจากการไอ
จาม หรือน้ำลายของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ แล้วมาสัมผัสที่ปาก จมูก
หรือตาของบุคคลนั้นๆ ผู้ป่วยจะอยู่ในระยะแพร่เชื้อในช่วง 3-4 วันแรกที่เริ่มมีอาการ
ในขณะที่ผู้ที่สัมผัสสารคัดหลั่งที่มีเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่จะเกิดการติดเชื้อขึ้นภายใน
1-4 วันหลังสัมผัส โรคไข้หวัดใหญ่อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน
เช่น ปอดติดเชื้อ ติดเชื้อในหู ไซนัสอักเสบ และทำให้โรคเรื้อรังจำพวก
ภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง หอบ เบาหวานมีอาการแย่ลงได้
การวินิจฉัยโรคไข้หวัดใหญ่สามารถตรวจได้ด้วยการเก็บสารคัดหลั่งในโพรงจมูกไปตรวจ
ในการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ ใช้ยา Oseltamivir ชนิดกิน
เป็นเวลา 5 วัน โดยจะต้องเริ่มรักษาใน 2-3 วันแรกจึงจะเกิดประโยชน์ทางการรักษา
โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza) แตกต่างจากไข้หวัดธรรมดา (Cold)
ดังนี้
Signs and
Symptoms
|
Influenza
|
Cold
|
Symptom
onset
|
Abrupt
|
Gradual
|
Fever
|
Usual; lasts 3-4 days
|
Rare
|
Aches
|
Usual; often severe
|
Slight
|
Chills
|
Fairly common
|
Uncommon
|
Fatigue,
weakness
|
Usual
|
Sometimes
|
Sneezing
|
Sometimes
|
Common
|
Stuffy nose
|
Sometimes
|
Common
|
Sore throat
|
Sometimes
|
Common
|
Chest
discomfort, cough
|
Common; can be severe
|
Mild to moderate; hacking
cough
|
Headache
|
Common
|
Rare
|
Centers for Disease
Control and Prevention. Flu Symptoms
& Complications. https://www.cdc.gov/flu/consumer/symptoms.htm (accessed
January 7, 2018).
โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้
ด้วยการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่
การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่นั้นจะช่วยป้องกันบุคคลนั้นๆจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่
และลดการแพร่เชื้อไปยังบุคคลใกล้เคียงได้ โดยจะฉีดเข้าที่บริเวณต้นแขนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคไข้หวัดใหญ่
จะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์หลังฉีดวัคซีน จึงจะออกฤทธิ์
การฉีดวัคซีนแต่ละครั้งสามารถป้องกันเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้ 3-4 สายพันธุ์ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นสายพันธุ์ที่รุนแรงและพบบ่อยซึ่งนำมาผลิตทำวัคซีน
ผู้ที่ควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ คือ
เด็กอายุ 6 เดือนถึง 2 ปี ผู้ที่อายุ 65
ปีขึ้นไป หญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป
ผู้ป่วยเรื้อรัง เช่น ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรือรัง ผู้ป่วยโรคหอบหืด
ผู้ป่วยโรคอ้วน เป็นต้น ผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลเป็นประจำ และบุคลากรสาธารณสุข
ข้อห้ามของการฉีดวัคซีนนี้ คือ
ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน
ผู้ที่แพ้ไข่ไก่อย่างรุนแรง ผู้ป่วยที่มีอาการ Guillain Barre Syndrome
(GBS) ผู้ป่วยที่หายจากอาการป่วยเฉียบพลันไม่เกิน 7 วัน ผู้ป่วยที่ยังไม่สามารถควบคุมโรคประจำตัวได้
ความถี่ในการฉีดวัคซีน ฉีดอย่างน้อยปีละ 1
ครั้ง เพราะภูมิคุ้มกันจะลดลงในช่วงเวลา 1 ปีและในแต่ละปีจะมีสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่เปลี่ยนแปลงไป
เพื่อจะได้ป้องกันโดยตรงต่อสายพันธุ์นั้นๆ
การฉีดวัคซีนแนะนำให้ฉีดวัคซีนในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่มิถุนายนถึงตุลาคม และ
ฤดูหนาว มกราคมถึงมีนาคม วัคซีนไข้หวัดใหญ่นั้นมีประสิทธิภาพช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไข้หวัดใหญ่ได้ 40 ถึง 60 เปอร์เซ็นต์ในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ที่ตรงกับวัคซีน ปัจจุบันวัคซีนไข้หวัดใหญ่ช่วยป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B และไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A (H1N1)
ได้ดี แต่มีประสิทธิภาพต่ำในการป้องกันเชื้อไข้หวัดใหญ่บางสายพันธุ์ เช่น H3N2
ฤดูหนาว มกราคมถึงมีนาคม วัคซีนไข้หวัดใหญ่นั้นมีประสิทธิภาพช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไข้หวัดใหญ่ได้ 40 ถึง 60 เปอร์เซ็นต์ในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ที่ตรงกับวัคซีน ปัจจุบันวัคซีนไข้หวัดใหญ่ช่วยป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B และไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A (H1N1)
ได้ดี แต่มีประสิทธิภาพต่ำในการป้องกันเชื้อไข้หวัดใหญ่บางสายพันธุ์ เช่น H3N2
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ไข้ต่ำๆ
รู้สึกปวดเมื่อยโดยอาการเหล่านี้จะหายไปเองใน 2 วัน
อาการแพ้วัคซีนเกิดขึ้นได้น้อยแต่อาจรุนแรงอันตรายถึงชีวิต
โดยมากจะเริ่มแสดงอาการภายในไม่กี่นาทีถึงชั่วโมงหลังจากฉีดวัคซีน
และอาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้คือ เจ็บบริเวณที่ฉีดวัคซีนและอาการบวมแดง
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ เป็นแบบวัคซีนเชื้อตาย
มี 2 แบบ ชนิด 3 สายพันธุ์และ 4
สายพันธุ์ของไวรัสไข้หวัดใหญ่ ซึ่งจะประกอบด้วยสายพันธุ์ดังนี้
1. A/California/7/2009 (H1N1)–like virus, 2. A/Hong Kong/4801/2014 (H3N2)–like virus H3N2, 3. B/Brisbane/60/2008–like virus (Victoria lineage) โดยชนิด 4 สายพันธุ์จะเพิ่มสายพันธุ์ B/Phuket/3073/2013–like virus (Yamagata lineage) ไปด้วย วัคซีนจะมีการเปลี่ยนแปลงไปทุกๆ 1 ปี ตามข้อมูลทางระบาดวิทยา
1. A/California/7/2009 (H1N1)–like virus, 2. A/Hong Kong/4801/2014 (H3N2)–like virus H3N2, 3. B/Brisbane/60/2008–like virus (Victoria lineage) โดยชนิด 4 สายพันธุ์จะเพิ่มสายพันธุ์ B/Phuket/3073/2013–like virus (Yamagata lineage) ไปด้วย วัคซีนจะมีการเปลี่ยนแปลงไปทุกๆ 1 ปี ตามข้อมูลทางระบาดวิทยา
โดยสรุป วัคซีนไข้หวัดใหญ่ป้องกันเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เฉพาะสายพันธุ์ที่ตรงกันได้
40-60 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2560 คือ ไม่ใช่ 100 เปอร์เซ็นต์และโรคไข้หวัดธรรมดาจะไม่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนไข้หวัดใหญ่
บุคคลนั้นๆจึงมีโอกาสที่จะมีอาการไอ จาม และน้ำมูกได้อีก
แม้ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่แล้วก็ตาม
เอกสารอ้างอิง
1. Centers for Disease
Control and Prevention. Flu Symptoms
& Complications. https://www.cdc.gov/flu/consumer/symptoms.htm (accessed
January 7, 2018).
2. สํานักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (2560) รายงานโรคในระบบเฝ้าระวัง
๕๐๖ Influenza.
No comments:
Post a Comment