Antibiotics for acne
การใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาสิว
การใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาสิว
โดย
พญ.อมรรัตน์ นามะสนธิ
อ.นพ.นพดล วัชระชัยสุรพล
ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อ.นพ.นพดล วัชระชัยสุรพล
ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สิวเป็นโรคผิวหนังที่พบบ่อยในวัยรุ่นและวัยหนุ่มสาวเนื่องจากเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน
เป็นสาเหตุให้ต่อมไขมันบริเวณใบหน้า หนังศีรษะ หน้าอกและแผ่นหลังผลิตไขมันมากขึ้น
ร่วมกับมีการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียก่อโรคมากขึ้น (Cutibacterium acnes หรือชื่อเดิม Propionibacterium
acnes) ภาวะดังกล่าวส่งผลกระตุ้นให้เซลล์ผิวหนังบริเวณรูขุมขนมีการแบ่งตัวมากผิดปกติ
ทำให้เกิดการอุดตันและกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ
ยาที่ใช้ในการรักษาสิวเป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งกลไกการเกิดสิวดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น
ได้แก่ยาปฏิชีวนะและยากลุ่มอื่นๆ เช่น กรดซาลิไซลิก (Salicylic acid) ลดการแบ่งตัวของผิวหนังบริเวณรูขุมขน
เบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและลดการแบ่งตัวของผิวหนังบริเวณรูขุมขน
ยาทากลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอ (Tretinoin) และยารับประทานกลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอ
(Isotretinoin) ลดการผลิตไขมันจากต่อมไขมันร่วมกับกลไกอื่นๆในการรักษาสิว
ยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการรักษาสิวหวังผลในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียก่อโรคซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเกิดสิว รูปแบบของยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการรักษาสิวมี 2 รูปแบบคือยาทาภายนอกและยารับประทาน
ปัจจุบันมีการจำหน่ายยาที่ใช้ในการรักษาสิวอย่างแพร่หลายทั่วไป
มีการรายงานพบเชื้อแบคทีเรียก่อโรคสิวดื้อต่อยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการรักษา สาเหตุสำคัญของการดื้อยาเกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดทาอย่างเดียวในการรักษาติดตอกันนานเกิน
3-4 สัปดาห ดังนั้นจึงควรใช้ยาปฏิชีวนะชนิดทาร่วมกับยาเบนโซอิลเปอร์ออกไซด์เพื่อลดความเสี่ยงของการดื้อยา
ข้อบ่งชี้ในการใช้ยาปฏิชีวนะรักษาสิว
1. การใช้ยาปฏิชีวนะชนิดทา
·
สิวเล็กน้อย*
·
สิวปานกลาง**
2. การใช้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน
·
สิวปานกลาง**
·
สิวรุนแรง***
หมายเหตุ
*สิวเล็กน้อย หมายถึง
สิวไม่อักเสบเป็นส่วนใหญ่ หรือ มีสิวอักเสบตุ่มหนองขนาดเล็กไม่เกิน 10 จุด
**สิวปานกลาง หมายถึง
มีสิวอักเสบตุ่มหนองขนาดเล็กเกิน 10 จุดและ/หรือ
ตุ่มนูนแดงขนาดใหญ่ น้อยกว่า 5 จุด
***สิวรุนแรง หมายถึง มีสิวอักเสบ ตุ่มแดงหรือตุ่มหนองจำนวนมากผสมกับสิวชนิดอื่นๆเกือบทั้งใบหน้า โดยมีตุ่มนูนแดงขนาดใหญ่หรือซีสต์ มากกว่า 5 จุด
***สิวรุนแรง หมายถึง มีสิวอักเสบ ตุ่มแดงหรือตุ่มหนองจำนวนมากผสมกับสิวชนิดอื่นๆเกือบทั้งใบหน้า โดยมีตุ่มนูนแดงขนาดใหญ่หรือซีสต์ มากกว่า 5 จุด
ยาปฏิชีวนะชนิดทา
ยาคลินดามัยซิน (Clindamycin) และยาอิริโทรมัยซิน (Erythromycin) เป็นยาที่นิยมนำมาใช้ในการรักษาสิวเนื่องจากออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย Cutibacterium acnes ได้ดีและช่วยลดการอักเสบของสิว อย่างไรก็ดีมีการรายงานว่าเชื้อแบคทีเรียสามารถดื้อต่อยาดังกล่าวได้ รูปแบบยาบางตำรับจึงมีการผสมยาคลินดามัยซินกับยาเบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ไว้ในหลอดเดียวกัน
ยาคลินดามัยซิน (Clindamycin) และยาอิริโทรมัยซิน (Erythromycin) เป็นยาที่นิยมนำมาใช้ในการรักษาสิวเนื่องจากออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย Cutibacterium acnes ได้ดีและช่วยลดการอักเสบของสิว อย่างไรก็ดีมีการรายงานว่าเชื้อแบคทีเรียสามารถดื้อต่อยาดังกล่าวได้ รูปแบบยาบางตำรับจึงมีการผสมยาคลินดามัยซินกับยาเบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ไว้ในหลอดเดียวกัน
รูปแบบของยา
ยาอิริโทรมัยซิน ได้แก่ เจลหรือยาน้ำใส (1-2% erythromycin base solution หรือ 2-4% erythromycin gel)
ยาคลินดามัยซิน ได้แก่ เจลหรือยาน้ำใส (1% clindamycin phosphate lotion หรือ gel)
ยาอิริโทรมัยซิน ได้แก่ เจลหรือยาน้ำใส (1-2% erythromycin base solution หรือ 2-4% erythromycin gel)
ยาคลินดามัยซิน ได้แก่ เจลหรือยาน้ำใส (1% clindamycin phosphate lotion หรือ gel)
ยาคลินดามัยซินผสมเบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ในรูปแบบเจล
วิธีการใช้ยา
ทาลงบนสิวที่อักเสบเท่านั้น โดยใชปลายนิ้วมือแตม 2-3 ครั้งต่อวัน
วิธีการใช้ยา
ทาลงบนสิวที่อักเสบเท่านั้น โดยใชปลายนิ้วมือแตม 2-3 ครั้งต่อวัน
ผลข้างเคียงของยา
ระคายเคืองผิว แดง คัน แสบร้อน ผิวแห้งลอก
ระคายเคืองผิว แดง คัน แสบร้อน ผิวแห้งลอก
ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน
ยาปฏิชีวนะในกลุ่ม เตตตร้าไซคลิน (tetracycline), ดอกซีไซคลิน (doxycycline) ถูกนำมาใช้ในการรักษาสิวชนิดรุนแรง
มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียและลดการอักเสบ แต่ไม่สามารถลดการผลิตน้ำมันของต่อมไขมันได้
จึงจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะร่วมกับยารักษาสิวกลุ่มอื่นๆและใช้ระยะเวลาหลายสัปดาห์ในการรักษาเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
เตตตร้าไซคลิน (tetracycline)
ขนาดยา
ขนาดเริ่มต้น 500-1,000 มิลลิกรัมต่อวัน หรือขนาดสูง 3,500 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับรายที่มีสิวรุนแรง และควรตรวจติดตามค่าการทำงานของตับ ผู้ที่รับประทานยานี้ควรไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอเพื่อประเมินผลการรักษา ระยะเวลาของการใชยาขึ้นกับการตอบสนองต่อการรักษา หากใช้ยาแล้ว 3-6 เดือนยังไดผลไมดีอาจตองพิจารณาเปลี่ยนวิธีการรักษา
ขนาดเริ่มต้น 500-1,000 มิลลิกรัมต่อวัน หรือขนาดสูง 3,500 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับรายที่มีสิวรุนแรง และควรตรวจติดตามค่าการทำงานของตับ ผู้ที่รับประทานยานี้ควรไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอเพื่อประเมินผลการรักษา ระยะเวลาของการใชยาขึ้นกับการตอบสนองต่อการรักษา หากใช้ยาแล้ว 3-6 เดือนยังไดผลไมดีอาจตองพิจารณาเปลี่ยนวิธีการรักษา
วิธีการรับประทานยา
รับประทานยาขณะท้องว่าง 1 ชั่วโมงก่อนมื้ออาหาร หรือ 2 ชั่วโมงหลังอาหาร ไม่ควรรับประทานพร้อมกับยาลดกรด ธาตุเหล็ก แคลเซียม เนื่องจากจะทำให้ประสิทธิภาพของยาต่ำลง ควรเว้นระยะเวลา 2 ชั่วโมงหลังรับประทานยาดังกล่าว
รับประทานยาขณะท้องว่าง 1 ชั่วโมงก่อนมื้ออาหาร หรือ 2 ชั่วโมงหลังอาหาร ไม่ควรรับประทานพร้อมกับยาลดกรด ธาตุเหล็ก แคลเซียม เนื่องจากจะทำให้ประสิทธิภาพของยาต่ำลง ควรเว้นระยะเวลา 2 ชั่วโมงหลังรับประทานยาดังกล่าว
รูปแบบของยา
ยาเม็ดหรือยาแคปซูลขนาด
250
และ 500 มิลลิกรัม
ผลข้างเคียงของยา
·
ผิวไวต่อแสงแดด
·
ระคายเคืองหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร
·
ตับอ่อนอักเสบ
·
พิษต่อตับ
·
แพ้รุนแรง
·
เกล็ดเลือดต่ำ
·
ภาวะความดันในโพรงกะโหลกศีรษะสูง (Pseudotumor
Cerebri)
·
ระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคไต
·
ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ และเด็กอายุต่ำกว่า
12 ปี เนื่องจากยาสามารถสะสมอยู่ในกระดูกและฟัน
ยับยั้งการเจริญเติบโตของกระดูกของทารกในครรภ์รวมถึงก่อให้เกิดคราบเหลืองที่ฟันอย่างถาวร
ดอกซีไซคลิน (doxycycline)
ขนาดยา
รับประทานครั้งละ 50-100 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน ผู้ที่รับประทานยานี้ควรไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอเพื่อประเมินผลการรักษา
รับประทานครั้งละ 50-100 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน ผู้ที่รับประทานยานี้ควรไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอเพื่อประเมินผลการรักษา
วิธีการรับประทานยา
สามารถรับประทานยาพร้อมมื้ออาหารได้โดยไม่รบกวนการดูดซึมของยา
ไม่ควรรับประทานพร้อมกับยาลดกรด ธาตุเหล็ก แคลเซียม เนื่องจากจะทำให้ประสิทธิภาพของยาต่ำลง
ควรเว้นระยะเวลา 2
ชั่วโมงหลังรับประทานยาดังกล่าว
รูปแบบของยา
ยาเม็ดหรือยาแคปซูลขนาด
100 มิลลิกรัม
ผลข้างเคียงของยา
คล้ายคลึงกับผลข้างเคียงของยา เตตตร้าซัยคลิน เนื่องจากเป็นยากลุ่มเดียวกัน แต่อาจพิจารณาใช้ในผู้ป่วยโรคไต หญิงตั้งครรภ์ หรือเด็กอายุน้อยกว่า 12 ปี หากใช้ยาในระยะสั้น (ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา)
คล้ายคลึงกับผลข้างเคียงของยา เตตตร้าซัยคลิน เนื่องจากเป็นยากลุ่มเดียวกัน แต่อาจพิจารณาใช้ในผู้ป่วยโรคไต หญิงตั้งครรภ์ หรือเด็กอายุน้อยกว่า 12 ปี หากใช้ยาในระยะสั้น (ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา)
แหล่งอ้างอิง
-สมาคมโรคผิวหนังแห่งประเทศไทย. 2553. แนวทางการดูแลรักษาโรค Acne. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.dst.or.th/files_news/Acne_2010.pdf (9 มกราคม 2562).
-สมาคมโรคผิวหนังแห่งประเทศไทย.
2555. สิว : DERMATOLOGICAL SOCIETY OF THAILAND [ระบบออนไลน์].
แหล่งที่มา https://www.dst.or.th/html/index.php?op=article-detail&id=1136&csid=16&cid=23 (9 มกราคม 2562).
-สมาคมโรคผิวหนังแห่งประเทศไทย. 2555. สิว : DERMATOLOGICAL SOCIETY OF THAILAND [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.dst.or.th/html/index.php?op=article-detail&id=1136&csid=16&cid=23 (9 มกราคม 2562).
- Fda.gov. 2019. Topical Acne Products Can Cause Dangerous Side Effects. [online] Available at: https://www.fda.gov/ForConsumers/ConsumerUpdates/ucm402441.htm [Accessed 9 Jan. 2019].
-Wolff K, Goldsmith L, Katz S, Gilchrest B, Paller AS, Leffell D. Fitzpatrick's Dermatology in General Medicine, 8th Edition. New York: McGraw-Hill, 2011.
-สมาคมโรคผิวหนังแห่งประเทศไทย. 2555. สิว : DERMATOLOGICAL SOCIETY OF THAILAND [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.dst.or.th/html/index.php?op=article-detail&id=1136&csid=16&cid=23 (9 มกราคม 2562).
- Fda.gov. 2019. Topical Acne Products Can Cause Dangerous Side Effects. [online] Available at: https://www.fda.gov/ForConsumers/ConsumerUpdates/ucm402441.htm [Accessed 9 Jan. 2019].
-Wolff K, Goldsmith L, Katz S, Gilchrest B, Paller AS, Leffell D. Fitzpatrick's Dermatology in General Medicine, 8th Edition. New York: McGraw-Hill, 2011.
No comments:
Post a Comment