Aspirin ขนาดต่ำกับการป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในบุคคลทั่วไป
โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นโรคที่มีความรุนแรง
สามารถทำให้เกิดการเจ็บป่วยแบบทุพพลภาพหรือเสียชีวิต กลุ่มโรคนี้ประกอบไปด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบตัน ภาวะหัวใจวายและหัวใจเต้นผิดจังหวะจากการตีบตันของหลอดเลือดหัวใจ
ปัจจุบันจึงมีผู้สนใจและงานวิจัยจำนวนมากที่มุ่งหาวิธีการที่เหมาะสมในการป้องกันการเกิดโรคหรือลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยเฉพาะในกลุ่มบุคคลทั่วไป
โดยทั่วไปการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจแบ่งได้เป็น
2
ประเภท คือ
1. การป้องกันไม่ให้เกิดโรคซ้ำหลังจากเป็นโรคแล้ว (secondary prevention) ซึ่งหลังจากรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดแล้ว แพทย์จะแนะนำวิธีการป้องกันการกลับเป็นโรคซ้ำ โดยให้รับประทานยาต้านเกล็ดเลือด เช่น aspirin และยาอื่นๆแล้วแต่ชนิดของโรคในกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดร่วมกับปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การหยุดสูบบุหรี่ ซึ่งมีหลักฐานสนับสนุนชัดเจนว่าการใช้ยา aspirin ขนาดต่ำ มีประโยชน์ในการลดโอกาสการกลับเป็นซ้ำหรือการเสียชีวิตเหนือความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากภาวะเลือดออก
1. การป้องกันไม่ให้เกิดโรคซ้ำหลังจากเป็นโรคแล้ว (secondary prevention) ซึ่งหลังจากรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดแล้ว แพทย์จะแนะนำวิธีการป้องกันการกลับเป็นโรคซ้ำ โดยให้รับประทานยาต้านเกล็ดเลือด เช่น aspirin และยาอื่นๆแล้วแต่ชนิดของโรคในกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดร่วมกับปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การหยุดสูบบุหรี่ ซึ่งมีหลักฐานสนับสนุนชัดเจนว่าการใช้ยา aspirin ขนาดต่ำ มีประโยชน์ในการลดโอกาสการกลับเป็นซ้ำหรือการเสียชีวิตเหนือความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากภาวะเลือดออก
2. การป้องกันโรคในบุคคลที่ยังไม่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
(primary
prevention) หลายคนมีความเชื่อว่าการรับประทาน aspirin สามารถป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ ซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงและยังไม่ชัดเจนเกี่ยวกับประสิทธิภาพดังกล่าว
บทความนี้ได้แสดงผลการศึกษาและหลักฐานเชิงประจักษ์ซึ่งได้จากงานวิจัยในปีปัจจุบัน
(2019)
การป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในคนทั่วไปที่ยังไม่เคยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดมาก่อน
ผลการศึกษาจากงานวิจัยส่วนใหญ่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ การรับประทานยา aspirin
ในขนาดต่ำ (75-100 มิลลิกรัมต่อวัน) จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเลือดออกโดยเฉพาะเลือดออกที่บริเวณทางเดินอาหาร
และในสมองมากกว่าการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
ในด้านของแนวทางปฏิบัติ ประเทศกลุ่มยุโรป (European Society of Cardiology) ยังไม่แนะนำให้ใช้ aspirin ขนาดต่ำในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
แต่ในประเทศสหรัฐอเมริกา (American College of Cardiology) มีแนวทางปฏิบัติปี
2019 สำหรับการใช้ aspirin ในขนาดต่ำ อาจมีประโยชน์เหนือผลเสียในคนบางกลุ่มสำหรับการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
ได้แก่ กลุ่มคนที่มีอายุ 40-70 ปี มีความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดสูง
(ซึ่งคำนวณโดยอาศัย 10 year ASCVD risk
estimator) และไม่มีภาวะเลือดออกง่าย การสรุปผลที่ชัดเจนอาจต้องรอผลงานวิจัยสนับสนุนเพิ่มเติม
โดยสรุป คือ
ควรเปรียบเทียบระหว่างผลประโยชน์และผลเสียในเรื่องของภาวะเลือดออกง่ายก่อนที่จะเริ่มการรับประทาน
aspirin ขนาดต่ำเพื่อป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในคนปกติ และควรใช้วิธีอื่นเพื่อป้องกันจะดีกว่าเพราะมีผลสรุปที่ชัดเจนแล้ว
เช่น การรับประทานยาควบคุมความดันโลหิตสูง การรับประทานยาลด LDL-cholesterol
ที่สูง
งดการสูบบุหรี่ การออกกำลังกาย และปรับพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร
งดการสูบบุหรี่ การออกกำลังกาย และปรับพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร
References
1. 1. American
College of Cardiology/American Heart Association (2019) '2019 ACC/AHA Guideline
on the Primary Prevention of Cardiovascular Disease', Journal of the
American College of Cardiology.
2. 2. Thomas L. Schwenk, MD and Allan S. Brett, MD
(2019) 'Aspirin for Primary Prevention: A New Meta-Analysis', The New
England Journal of Medicine.
3. Mahmoud AN, Gad MM, Elgendy AY, Elgendy IY, Bavry AA (2019) 'Efficacy and
safety of aspirin for primary prevention of cardiovascular events: a
meta-analysis and trial sequential analysis of randomized controlled
trials.', European Heart Journal, 40(7), pp. 607-617.
No comments:
Post a Comment